กำลังบันทึกข้อมูล
การประกันชีวิตผิดหลักศาสนาอิสลามหรือไม่? 
แบ่งปัน
โดย ชัยยะพัส อินจงกลรัศม์ 17/7/64 17:55
การประกันชีวิตผิดหลักศาสนาอิสลามหรือไม่? 
อ.ยาซีน เอสเอ็ม มูตู นายกสมาคมนักธุรกิจอุตสาหกรรมไทย-มุสลิม

ประกันชีวิตเป็น ฮาลาลหรือหะรอม 
การที่จะตอบว่าประกันชีวิตเป็นฮาลาล (สิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้) หรือหะรอม (สิ่งที่ไม่อนุญาตให้กระทำ) นั้น ตามหลักการแล้วตอบไม่ได้ เพราะว่าหลังจากที่อัลกุรอานลงมาแล้วเป็นอัลฟุกอน แยกแยะความถูกและความผิดออกจากกันอย่างชัดเจนแล้ว จึงไม่มีใครนอกจากอัลเลาะห์ และรอซูลฮ์ (ศาสดา) ที่จะพูดได้ว่าสิ่งไหนเป็นฮาลาลหรือหะรอม เพราะว่าสิ่งที่เป็นฮาลาลหรือหะรอมนั้นชัดเจนแล้วตามหลักของศาสนาอิสลาม คำว่า "ประกันชีวิต" ไม่มีในอัลกุรอาน ไม่มีในซุนนะ (แบบอย่างของศาสดา) ท่านนะบีไม่เคยพูด ท่านซอหะบะฮ์ ท่านตาบีอิด ตาบีอีน ก็ไม่เคยเขียนเอาไว้ จึงไม่ใช่หน้าที่ของผู้ใดจะมากล่าวอ้างว่าสิ่งนั้นเป็นฮาลาลหรือหะรอม นอกจากจะเอาสิ่งที่ชัดเจนแล้วมากล่าวกัน เช่น ในประกันชีวิตมีดอกเบี้ยร่วมด้วยหรือไม่ ? มีการเอารัดเอาเปรียบกันหรือไม่ ? มีการพนันในนั้นหรือไม่ ? มีความไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจในอัลเลาะห์หรือไม่ ? เป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันหรือไม่ ? ถ้าเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันแล้วก็ไม่มีใครบอกได้ว่าเป็นหะรอม เพราะฉะนั้นเมื่ออัลเลาะห์ได้กำหนดไว้เป็นสิ่งชัดเจนแล้ว ก็จำเป็นต้องนำสิ่งที่กำหนดไว้ชัดเจนแล้วมาพูดกัน ผู้ใดก็ตามที่กล่าวอ้างในสิ่งที่อัลเลาะห์ไม่ได้กำหนดไว้ย่อมถือได้ว่าเป็น การกล่าวอ้างที่ไม่เป็นธรรม เพราะในอัลกุรอานมีบัญญัติไว้ว่า " อย่าพูดด้วยความเท็จโดยให้ลิ้นของเจ้าพาไปว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งฮาลาล เป็นหะรอม โดยอ้างพระเจ้า เพราะความเท็จในการอ้างพระเจ้านั้นทำให้ผู้พูดไม่ได้รับความจำเริญ" ซูเราะห์ที่ 16 อายะห์ที่ 116 ดังนั้น การกล่าวอ้างว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งฮาลาลหรือสิ่งหะรอมโดยอ้างชื่อพระเจ้าแล้ว เป็นสิ่งต้องห้ามตามหลักอัลกุรอานทั้งสิ้น ถ้าจะพูดว่าสิ่งใดเป็นสิ่งอนุมัติหรือไม่อนุมัติก็ต้องนำเอาสิ่งที่ชัดเจน แล้วมากล่าวกัน
ความเป็นมาของการประกันชีวิต
ก่อนจะมีการประกันชีวิต นั้นมีการประกันภัยทางทะเลมาก่อน สมัยก่อนมีการค้าขายระหว่างทวีปยุโรป เอเชีย เมื่อค้าขายเสร็จแล้วก็ซื้อสินค้ากลับบ้านตัวเอง มีสถิติว่าในจำนวน 10 เที่ยว เรือต้องอับปาง 1 เที่ยว เจ้าของเรือเดินทะเลรู้ว่าใน 10 เที่ยวต้องกลายเป็นยาจกได้ในพริบตา จึงตกลงกันระหว่างพ่อค้าเดินเรือว่าไม่ควรเอาเงินซื้อสินค้าทั้งหมด แต่ให้เอาเงินส่วนหนึ่งมารวมกันเป็นกองกลาง แต่ละคนก็เดินเรือไปตามปกติ ถ้าเรือใครอับปางก็เอาเงินไปชดเชย แต่ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็ให้เก็บไว้เป็นเงินกองกลาง ถามว่าการทำเช่นนี้เป็นการผิดหลักของอิสลามหรือไม่ ? ถ้าผู้ใดพูดว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งหะรอม เขาผู้นั้นไม่ได้พูดตามหลักการอัลอิสลาม เพราะอัลอิสลามกำหนดไว้ชัดเจนว่ามุสลิมทุกคนเป็นพี่น้องกัน ถ้าเห็นใครเดือดร้อน ก็ต้องเดือดร้อนแทนเขา ถ้าจะพูดว่าการประกันเป็นหะรอมก็ถือว่าผู้พูดไม่มีความเป็นธรรม จึงจำเป็นจะต้องศึกษาหาส่วนที่ชัดเจนที่แฝงอยู่ในคำว่าประกันชีวิต ที่จริงแล้ว การประกันชีวิตไม่ได้ประกันเพื่อว่าจะไม่ให้ตาย หลักการเฉลี่ยความเสี่ยงร่วมกัน การประกันชีวิตก็คล้ายกับการประกันเรือ หลายๆ คนมารวมกัน ฝากเงินไว้จำนวนหนึ่งต่อปี มีข้อตกลงว่าถ้าครบกำหนดก็จะคืนให้เท่าที่ตกลงกันไว้ แต่ถ้าผู้ทำประกันเสียชีวิตไปก่อนหรือทุพพลภาพทำอะไรไม่ได้ก็ให้เอาเงินก้อน หนึ่งให้ภรรยาส่งลูกให้เรียนหนังสือต่อ ตามที่ทำสัญญากันไว้ แม้ว่าผู้ทำยังฝากไม่ครบตามกำหนดก็ตาม ซึ่งต่างกับการฝากเงินในธนาคาร เป็นหลักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่วนเงินที่บริษัทรับมาจะนำไปลงทุนเอง ได้กำไรหรือขาดทุนตัวผู้ทำประกันไม่เกี่ยว แต่ละฝ่ายยินดีและรับผิดชอบในข้อเสนอ รัฐบาลโดยกรมการประกันภัยคอยควบคุมเงินกองกลาง ส่วนบริษัทประกันนำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล รัฐบาลก็นำเงินไปจ่ายเงินเดือน ใช้จ่ายในงบประมาณ
อ่านต่อ
จาก Insurance Magazine ฉบับที่ 31
ดู 377, ตอบ 0
โปรแกรมกุนซือประกัน (Beta) V.1
สงวนลิขสิทธิ์ © 2567 พี่ชื่อเจฟ
นโยบายการจัดส่งสินค้า | นโยบายการยกเลิกการสั่งซื้อ | นโยบายการคืนเงิน | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | ข้อเสนอแนะจากผู้ใช้